ร้านสมุนไพรออนไลน์
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
(Auto Reply) Thank you for your message. We will get back to you during office hours Mon-Sat 10am-5pm (GMT+7)
เริ่มแชท

หญ้าหวาน ผง 100กรัม

คุณสมบัติสินค้า:

หญ้าหวาน หรือ สตีเวีย (Stevia rebaudiana Bertoni) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นพืชที่มีคุณสมบัติเป็นรสหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน ชาวพื้นเมืองจึงนิยมใช้หญ้าหวานเพื่อเป็นสารชูรสในอาหารต่างๆ ซึ่งสารหวานที่มีมากที่สุดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ (stevioside) ซึ่งมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส แต่ไม่ให้พลังงานจึงนำมาใช้เป็นสารทดแทนการบริโภคน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน และผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพ

หมวดหมู่ : ผงสมุนไพร 100กรัม

Share

ที่มา หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- อังคารที่ 28 สิงหาคม 2007 


  หญ้าหวาน หรือ สตีเวีย (Stevia rebaudiana Bertoni) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นพืชที่มีคุณสมบัติเป็นรสหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน ชาวพื้นเมืองจึงนิยมใช้หญ้าหวานเพื่อเป็นสารชูรสในอาหารต่างๆ ซึ่งสารหวานที่มีมากที่สุดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ (stevioside) ซึ่งมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส แต่ไม่ให้พลังงานจึงนำมาใช้เป็นสารทดแทนการบริโภคน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน และผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพ

  หญ้าหวานเป็นพืชที่มีการกล่าวขวัญกันมานานมาก มีงานวิจัยมากมาย แต่หญ้าหวานก็ไม่เคยที่จะมีข้อสรุปที่จะส่งผลให้ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจกับเขาบ้าง ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่น อเมริกา และทั่วโลกต่างเลี่ยงสารหวานอื่นๆ หันมากินหญ้าหวานแทนกัน และประเทศที่ปลูกหญ้าหวานอย่างจีน, บราซิล และอื่นๆ ต่างได้รายได้จากหญ้าหวานเป็นกอบเป็นกำ โดยที่คนไทยไม่มีสิทธิ์บริโภค เพียงแต่เป็นผู้ส่งออกได้บ้างเล็กน้อย แล้วคนไทยก็มากินสารหวานที่นำเข้าแทนทั้งๆ ที่ชาติอื่นเขากำลังเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเลิกบริโภคสารหวาน ที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางเคมี เพราะมีข่าวว่าอาจไม่ปลอดภัย


  การใช้ประโยชน์จากหญ้าหวานในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขขออนุญาตให้ใช้หญ้าหวานในลักษณะของชาสมุนไพร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 280 พ.ศ.2547 เรื่องชาสมุนไพรโดยมีการออกประกาศเพิ่มเติมให้ใช้ใบหญ้าหวานเป็นวัตถุดิบสำหรับชาสมุนไพร ลงประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 แต่เนื่องจากมีผลการวิจัยในหนูทดลอง พบว่าการได้รับสารสกัดจากหญ้าหวานในปริมาณที่มากเกินไป


  อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์หรืออาจทำให้เป็นหมันได้ ซึ่ง คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลกที่เกี่ยวกับสารเจือปนในอาหาร (Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives : JECFA) ได้กำหนดค่าความปลอดภัย เบื้องต้นไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการประเมินค่าความปลอดภัยและยังไม่มีข้อมูลการบริโภคในคนไทยอย่างชัดเจน


  ด้วยเหตุนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำการสำรวจการบริโภคหญ้าหวานของคนไทย ซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศเป็นครั้งแรกโดยผลการสำรวจในครั้งนี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงและการกำหนด ค่าตามกฎหมายที่กินแล้วปลอดภัยในประเทศต่อไป รวมทั้งได้มีการนำเสนอในการประชุมสภาสมาคมพิษวิทยานานาชาติ ณ ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 15-19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการยอมรับทางวิชาการในระดับสากล นอกจากนี้ คณะผู้สำรวจได้รับการติดต่อจาก JECFAและทีมผู้กำหนดค่าความปลอดภัย EU เพื่อขอข้อมูลประกอบการพิจารณาค่ามาตรฐานระดับสากลต่อไป


  น.พ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้เป็นการยืนยันปริมาณการบริโภคหญ้าหวานทุกรูปแบบรวมกันใน 24 ชั่วโมงของคนไทย คิดเป็นปริมาณเฉลี่ยประมาณ 0.92 กรัม/คน/วันนับว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย โดยปัจจุบันคนไทยบริโภคหญ้าหวาน 5 รูปแบบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ใบแห้งอบ ใบแห้งบดในซองชาสำหรับชงดื่ม ใบสด ใบแห้งบดสำหรับเติมแทนน้ำตาล และแบบสารสกัดจากใบหญ้าหวานแห้งด้วยน้ำโดยบริโภคหญ้าหวานอย่างเดียวมากกว่าบริโภคแบบผสมกับสมุนไพร อาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่จะชงดื่มเหมือนชา รองลงมาคือ การต้ม และเคี้ยว ตามลำดับ โดยผู้บริโภคให้ข้อมูลในการบริโภคหญ้าหวาน คือเพื่อต้องการลดความดันโลหิต ทดแทนการบริโภคน้ำตาล และรักษา/ดูแลสุขภาพ และผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งมีการปลูกหญ้าหวานมากในภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์


  โดยส่วนใหญ่ประชาชนจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าหวานจากนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ทางวิทยุ จากผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ผู้บริโภคเป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย อายุ 40-60 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่รักษาสุขภาพ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ รับประทานอาหารเสริม เครื่องดื่มน้ำผลไม้และสมุนไพรเป็นประจำ


  น.พ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ข้อมูลจากการสำรวจนี้จะช่วยให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีข้อมูลประกอบการพิจารณาตั้งค่าความปลอดภัยในการบริโภคหญ้าหวาน เพื่อยืนยันความปลอดภัยในการใช้หญ้าหวาน


  หญ้าหวาน หรือ Stevia เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย มีการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ.1887 โดยมีชาวพื้นเมืองปารากวัย ใช้สารหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1,500 ปี ต่อมาญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1982 ในประเทศไทยเพิ่งมีการนำมาปลูกเมื่อปี พ.ศ.2518 เขตที่ปลูกกันมากได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดที่น่าน ภาคเหนือเป็นพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากหญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส


  ลักษณะโดยทั่วไป เป็นไม้ล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี เป็นพุ่มเตี้ย สูง 30-90 ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอกกลับ ขอบใบหยัก มีรสหวาน มีดอกช่อสีขาว สรรพคุณ ใช้แทนน้ำตาล โดยใช้ใบแห้งใส่แทนน้ำตาล (หญ้าหวานเป็นพืชที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า สารสกัดจากหญ้าหวาน สตีวิโอไซด์ มีความหวานกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า แต่ไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน สามารถใช้แทนน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคไขมันในเส้นเลือดสูง (ไม่ทำให้อ้วน)


  อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรมากกว่านี้ต้องไปงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-3 ก.ย.50 ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยงานนี้จะมีการ สาธิตการทำน้ำพริกเพื่อสุขภาพ การประชุมวิชาการ การอบรมระยะสั้น และการแสดงวัฒนธรรมและภูมิปัญหญท้องถิ่นด้านสุขภาพ รวมทั้งรวบรวมสมุนไพรหลากหลายชนิดมาให้ได้เรียนรู้กันพร้อมทั้งซื้อหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพกลับบ้าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้