สรรพคุณของรากสามสิบที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยาจีงได้ทำการศึกษาเรื่อง ผลของสารสกัดรากสามสิบต่อการป้องกันการสลายเนื้อกระดูกและอวัยวะสืบพันธุ์ ในหนูแรทที่ถูกตัดรังไข่ เนื่องจากเล็งเห็นว่า โรคกระดูกพรุนซึ่งมักจะเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชายนั้น มีสาเหตุหลักจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนภายหลังหมดประจำเดือน โดยได้ผลการทดลองมาว่า หนูที่ได้รับสารสกัดสมุนไพรรากสามสิบหลังจากถูกตัดรังไข่ มีน้ำหนักมวลกระดูกที่มากกว่ากลุ่มหนูถูกตัดรังไข่แต่ไม่ได้รับสารสกัดสมุนไพรรากสามสิบ
หมวดหมู่ : 100กรัม
Share
ที่มา https://health.kapook.com/view124264.html
รากสามสิบ สรรพคุณเด่น ๆ ของสมุนไพรตัวนี้ขึ้นชื่อเรื่องเป็นยาบำรุงสำหรับสตรี ซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นสมุนไพรรากสามสิบแบบแคปซูลกันมาบ้าง แล้วรู้ไหมคะว่า ประโยชน์ของรากสามสิบ สมุนไพรตัวเด็ดนี้ไม่ได้มีดีแค่ช่วยคนอยากมีลูกเท่านั้น
รากสามสิบ สมุนไพรนี้มีที่มา
รากสามสิบแท้จริงแล้วถูกเรียกหลายชื่อมาก ๆ เช่น สาวร้อยผัว จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ) ผักชีช้าง ผักหนาม (ภาคอีสาน) สามร้อยราก สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน หรือม้าสามต๋อน มีชื่อสามัญว่า Shatavari
ส่วนลักษณะต้นรากสามสิบเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีหนามแหลม มีเหง้าและรากใต้ดินคล้ายรากของต้นกระชาย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว แยกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม เป็นต้นที่มีผลสดลักษณะกลม ผิวเรียบมัน และมีเมล็ดสีดำ
สรรพคุณรากสามสิบ
รากสามสิบถูกเปรียบให้เป็นพลังแห่งการฟื้นฟูความสาว (Female Rejuvenation) เป็นยาโบราณที่หมอแผนโบราณและแพทย์สมุนไพรใช้เป็นยาบำรุงสำหรับสตรีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งก็นับเป็นที่มาของชื่อสาวร้อยผัว ชื่อเล่นอีกชื่อของรากสามสิบนั่นเอง โดยคนโบราณมักจะนำรากมาต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง ซึ่งบอกต่อ ๆ กันว่า จะช่วยบำรุงสตรีให้ไมว่าจะอายุเท่าไรก็มีลูกได้ง่าย
นอกจากนี้สมุนไพรรากสามสิบยังผ่านการวิจัยสรรพคุณมามากมาย โดยพบว่า รากสามสิบมีสรรพคุณทางเภสัชวิทยาตามนี้ติดตัวอยู่ด้วย
- ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
- คลายกล้ามเนื้อมดลูก
- บำรุงหัวใจ
- ลดการอักเสบ
- แก้ปวด
- ยับยั้งเบาหวาน
- ปราบเซลล์มะเร็ง
- กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
- ต้านภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
- ลดระดับไขมันเลือด
- ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
- มีฤทธิ์ใกล้เคียงฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง)
- ช่วยสร้างสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง
- ขับน้ำนม
- ช่วยให้การตกไข่สมบูรณ์
- ช่วยบำรุงกำลังท่านชาย
- เสริมความแข็งแรงของน้ำเชื้ออสุจิ
- ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ลดอาการกรดเกินในกระเพาะอาหาร
- ยับยั้งพิษต่อตับ
- แก้ริดสีดวงทวาร
- ขับลม
- ขับปัสสาวะ
- ขับเสมหะ
- บำรุงเด็กในครรภ์
- แก้ตกเลือด
- รักษาโรคคอพอก
- แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว
- ฝนรากทาเป็นยาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้
- กระตุ้นประสาท ชูกำลัง
และด้วยสรรพคุณของรากสามสิบที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยาจีงได้ทำการศึกษาเรื่อง ผลของสารสกัดรากสามสิบต่อการป้องกันการสลายเนื้อกระดูกและอวัยวะสืบพันธุ์ ในหนูแรทที่ถูกตัดรังไข่ เนื่องจากเล็งเห็นว่า โรคกระดูกพรุนซึ่งมักจะเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชายนั้น มีสาเหตุหลักจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนภายหลังหมดประจำเดือน โดยได้ผลการทดลองมาว่า หนูที่ได้รับสารสกัดสมุนไพรรากสามสิบหลังจากถูกตัดรังไข่ มีน้ำหนักมวลกระดูกที่มากกว่ากลุ่มหนูถูกตัดรังไข่แต่ไม่ได้รับสารสกัดสมุนไพรรากสามสิบ
นอกจากนี้สารสกัดรากสามสิบยังไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสกัดรากสามสิบอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการสลายของเนื้อกระดูกในหนูทดลองได้ โดยไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ทว่ายังคงต้องทดลองเพิ่มเติมเพื่อศึกษาว่า สารสกัดรากสามสิบจะมีผลกระทบใด ๆ กับอวัยวะอื่นหรือไม่
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรรากสามสิบ
เนื่องจากสมุนไพรรากสามสิบออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นจึงจัดเป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิงที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในมดลูก (Uterine Fribrosis) หรือมีก้อนเนื้อในเต้านม (Fibrocystic Breast) เป็นต้น ดังนั้นไม่ว่าจะใช้สมุนไพรอะไรก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุดนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สมุนไพรอภัยภูเบศร
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปราณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำและละลายน้ำของกระเจี๊ยบเขียว มีคุณสมบัติช่วยการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเส้นใยที่ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและขับถ่ายออกทางอุจจาระ จึงไม่มีสารพิษตกค้างในลำไส้ และสำหรับผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานและคอเลสเตอรอลสูง เส้นใยที่ละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่จับอยู่กับน้ำดีได้
รางจืด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia laurifolia) เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถาในวงศ์เหงือกปลาหมอ มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆหรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ รางจืดได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งการถอนพิษ"[1][2][3] มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่างๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ
ผงใบมะรุมเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีเยี่ยมและสามารถเป็นอาหารเสริมอย่างง่ายสำหรับคนแอฟริกา มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอีและ ธาตุอาหารสำคัญรวมทั้งซีลีเนียม และยังมีค่า RDA ของสารอาหารที่เกือบจะครบถ้วน (RDA ก็คือ ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน. ย่อมาจาก Recommended Dietary Allowance)
กล้วยน้ำว้า ถึงจะเป็นผลไม้ ที่ไม่น่าจะให้พลังงานได้เยอะ แต่เชื่อหรือไม่ว่า กล้วยเป็นแหล่งพลังงานสำรองชั้นดี ในกล้วย 1 ผล สามารถให้พลังงานได้ร่วม 100 แคลอรี่ มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ 3 ชนิด ทั้ง ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโครส รวมไปถึงเส้นใยและกากอาหาร และอุดมด้วย วิตามินบี 6 ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แถมแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ที่ช่วยป้องกันโรคความดันอีก ในบรรดากล้วยทั้งหมด กล้วยน้ำว้าให้แคลเวียมสูงสุด นอกจากนั้นก็ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 ซี และไนอะซิน (บี 6) ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน แต่ที่ทำให้กล้วยน้ำว้า มีคุณค่าสารอาหารที่พิเศษกว่ากล้วยชนิดอื่น นั่นก็คือ โปรตีนที่อยู่ในกล้วยน้ำว้า มีกรดอะมิโน อาร์จินิน และฮีสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ถึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมตอนเด็ก ๆ ผู้ใหญ่ถึงให้เรากินกล้วยบด เพราะอุดมด้วยสารอาหาร และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเรานั่นเอง