156
ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata ทั้งต้น - รสฉุน เย็นจัด ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ฝีบวมอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงทวาร ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
ขายแล้ว 9 ชิ้น
090
สาหร่ายสไปรูลินาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ จัดเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน ซึ่งมีปริมาณสูงถึงร้อยละ 50-70 ของน้ำหนักแห้ง แม้โปรตีนในสไปรูริน่าจะมีกรดแอมโนที่จำเป็นคือ methionine, cysteine และ lysine ในปริมาณน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ นม เนื้อสัตว์ ไข่ ซึ่งเป็นโปรตีนที่ได้จากสัตว์ แต่มีโปรตีนสูงกว่าโปรตีนจากพืชแหล่งอื่น
ขายแล้ว 25 ชิ้น
168
ผลิตจากน้ำมันเทียนดำสกัดเย็นแบบบีบเย็นของทางร้าน 100% ไม่มีส่วนผสมอื่น
ขายแล้ว 9 ชิ้น
044
มะขามเปียกมีประวัติการใช้มายาวนาน ช่วยชำระสิ่งสกปรกจากผิวหนังเพราะฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อนๆ ในมะขาม จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากผิวหนังได้ดี ปัจจุบัน ได้มีหญิงไทยจำนวนมาก ใช้มะขามเปียกผสมน้ำอุ่นและนมสดให้เข้ากันดี พอกบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยด้าน เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก ฝ่ามือ ที่มีรอยกร้านดำ และบริเวณรักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลง ทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น และนมสดจะช่วยบำรุงผิว ให้นุ่มได้
ขายแล้ว 90 ชิ้น
100
ระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน โฟเลต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี อยู่ในปริมาณพอสมควร ที่สำคัญกระเจี๊ยบเขียวมีกลูตาไธโอน (glutathione) มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ ทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย และช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนิยมใช้สารนี้เพื่อให้ผิวขาวขึ้น เพราะกลูตาไธโอนสามารถกดการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่วคราว นอกจากนี้ กระเจี๊ยบเขียวยังเต็มไปด้วยเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนของพืชผักที่ร่างกายย่อยไม่ได้ และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ เช่น เพกทิน (pectin) และเมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetyated acidic polysaccharide และกรดกาแล็กทูโลนิก (galactulonic caid) สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปราณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง
ขายแล้ว 66 ชิ้น
094
ใช้น้ำมันงาประกอบอาหารรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว หลอดเลือดหัวใจตีบตัน และอาการท้องผูก น้ำมันงา ใช้ลดการหมักหมมในช่องท้อง โดยทานน้ำมันงาดิบ ๆ 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ ขณะท้องว่าง เพื่อให้ลำไส้ขับสิ่งที่หมักหมมอยู่ออกไป น้ำมันงา ใช้ทาผมจะทำให้ผมดำเป็นมันวาว ไม่แห้งแตกปลาย และใช้ทาผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้น ลดรอยหยาบกร้าน ช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่อง น้ำมันงาใส่ขิง ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยใช้ขิงสดขูดละเอียดผสมกับน้ำมันงาในปริมาณเท่ากัน จุ่มผ้าฝ้ายลงในส่วนผสมนี้ นำมาถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย ใช้กระเทียมสับผสมน้ำมันงา รักษาโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน เรื้อนกวาง ทาบริเวณที่มีอาการ
ขายแล้ว 56 ชิ้น
068
สินค้าผลิตตามสั่ง ผลิตจากขมิ้นชันผง100%
ขายแล้ว 135 ชิ้น
128
แม้ว่าชาวไทยจะคุ้นชินกับการบริโภคน้ำมันพืช น้ำมันหมูมากกว่า ด้วยราคาที่ย่อมเยา และยังปรุงอาหารได้หลากหลายตามตำรับตำราอาหารไทย แต่หากคุณคือหนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น คงจะรู้จัก และเริ่มรับประทานน้ำมันมะกอกกันมาได้สักพักแล้ว เพราะน้ำมันมะกอกอุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อร่างกาย หากทานในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ขายแล้ว 106 ชิ้น
107
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก, ใบ, ผล) ช่วยบำรุงธาตุไฟ ขับน้ำย่อยอาหารทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น (ใบ, แก่น) ช่วยบำรุงโลหิต (ใบ, แก่น) น้ำตาลที่ได้จากการหมักน้ำจากลำต้นมีแร่ธาตุ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ลำต้น) ช่วยบำรุงและรักษาสายตา โดยพบว่าผู้ที่รับประทานยอดสะเดาตั้งแต่เด็ก เมื่ออายุ 90 กว่า สายตายังดีมาก (ยอดอ่อน) ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ด้วยการใช้ช่อดอกนำมาลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวานหรือน้ำพริก หรือจะใช้เปลือกสดประมาณ 1 ฝ่ามือนำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว (ผลอ่อน, ลำต้น, เปลือกต้น, เปลือกราก, ราก, ใบอ่อน, ดอก) หรือโรคซูบผอม ผอมแห้งแรงน้อย (เปลือกต้น) ช่วยรักษาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเอดส์ เนื่องจากการรับประทานใบสะเดาเป็นอาหารจะช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหารหรือกินอาหารได้น้อยแล้วทำให้ซูบผอมจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน (ใบ)
ขายแล้ว 108 ชิ้น
130
ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เพื่อให้มีรสเปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน ทำเป็นเครื่องดื่มลดความอ้วน โดยการรับประทานส้มแขกในระยะแรกอาจจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น เนื่องจากไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร โดยร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ ระหว่างนี้ก็ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หากรับประทานไปนาน ๆ ก็จะช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกไม่หิวได้ และเมื่อหยุดรับประทานส้มแขก ร่างกายจึงไม่กลับมาอ้วนอีกแน่นอน และที่สำคัญก็คือไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผลและพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนของหน้าที่ของตับและไต รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือดก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ขายแล้ว 9 ชิ้น
022
ชามัทฉะผง ผลิตภายในประเทศไทย ผลิตจากยอดใบชาไม่เกินใบที่ 3
ขายแล้ว 11 ชิ้น
009
กวาวเครือขาวมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร หัว บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทาหรือรับประทานทำให้เต้านมขยายตัว เส้นผมดกดำ เพิ่มเส้นผม เป็นยาปรับรอบเดือน บำรุงความกำหนัด บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี บำรุงโลหิต กินได้นอนหลับ ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล ถ้ารับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้แท้งบุตรได้ เปลือกเถา แก้พิษงู ในพม่าใช้ หัว เป็นยาอายุวัฒนะของทั้งหญิงและชาย แต่ไม่เหมาะกับคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์
ขายแล้ว 48 ชิ้น
029
สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ และมีกลิ่นฉุนสามารถไล่แมลงได้ หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวได้ด้วย
ขายแล้ว 42 ชิ้น
084
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. ตามสรรพคุณพื้นบ้านนั้น เมล็ดของหมามุ่ยถูกนำมาใช้ในตำรับยาไทยมาช้านานในการรักษาโรคบุรุษ
ขายแล้ว 35 ชิ้น
096
สมุนไพรรางจืด "ราชาแห่งการถอนพิษ" เป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปเลือกใช้เพื่อใช้แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว ฯลฯ ยิ่งเมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การจะนำส่งแพทย์เพื่อรับการรักษาอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่แถวบ้าน เราก็สามารถใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป หรือใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ในขนาดปริมาณเท่านิ้วชี้มาใช้เพื่อรักษาบรรเทาอาการของพิษเฉพาะหน้าไปก่อน ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด
ขายแล้ว 21 ชิ้น
002
น้ำมันเทียนดำบริสุทธิ์ (ฮับบะฮฺตุสเซาดาอฺ) คุณประโยชน์มีดังนี้ 1. ท้องเสียและถ่ายท้อง: คั้นน้ำผักขม ผสมกับเทียนดำป่น ดื่มวัน3ครั้งเมื่อหายแล้วหยุดดื่ม 2. ไอและหอบ: เทียนดำป่นผสมน้ำผึ้ง รับประทานเมื่อเริ่มจะมีอาการกำเริบ 1-2 ช้อนโต๊ะ 3. โรคผิวหนัง: น้ำมันเทียนดำครึ่งช้อนชา น้ำมันดอกกุลาบครึ่งช้อนชา แป้งสาลี 1 ช้อนชา ผสมแป้งนวดจนเป็นก้อน นำน้ำส้มสายชูเจือจาง 1 ช้อนชา ทาบริเวณที่เป็น และเอาแป้งที่นวดวางบริเวณที่เป็น 4. สิว: เทียนดำป่นหนึ่งส่วน, เปลือกทับทิมป่นครึ่งส่วน, น้ำส้มสายชูแอปเปิล(น้ำส้มสายชูแท้) หนึ่งส่วน, น้ำมันเทียนดำ, ผสมทุกอย่างตั้งไฟกวนจนเข้ากันดี ทาหัวสิวหรือฝีก่อนนอน 5. ไซนัส: น้ำมันเทียนดำ น้ำมันมะกอก ผสมให้เข้ากันดี หยอดรูจมูก 3 หยดทุกเช้า 15 วัน 6. หวัด: น้ำมะนาว น้ำหัวหอม น้ำมันเทียนดำ ผสมเข้ากันดี หยอดจมูก 2-3 หยด 7. ไข้หวัดใหญ่: เทียนดำป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ ชงกับนมสดอุ่น 1 แก้วใหญ่ดื่มตลอดวัน 8. คอและต่อมทอมซิลอักเสบ: เทียนดำครึ่งช้อน, น้ำชาอุ่น, ดื่มน้ำและกลั้วคอด้วยชาผสมน้ำมันเทียนดำ 9. เหงือกและฟันอักเสบ: เทียนดำป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู้แอปเปิลหนึ่งช้อนชา ผสมกันใช้กลั้วคอ และนวดเหงือกด้วยน้ำมันเทียนดำ 10. ปวดหัว: เทียนดำป่น, น้ำมันมะกอก, ผสมกันและคั้นเอาแต่น้ำ หยอดจมูกทั้งสองข้าง 11. ไมแกรน: น้ำมันเทียนดำหยอดหูทันทีที่ปวดหัว พร้อมทั้งเอาน้ำมันนวดท้ายทอยทันทีที่ปวด เอาเม็ดเทียนดำต้มน้ำ ชงกับน้ำผึ้งดื่ม 12. ปวดหลัง: เทียนดำป่นหนึ่งกิโลกรัม น้ำผึ้ง 150 กรัม ผสมเข้ากัน รับประทานสองครั้ง ครั้งละหนึ่ง ช้อนโต๊ะ เช้าและเย็นหลังอาหารหนึ่งชั่วโมง เป็นเวลา10 วัน (ห้ามเว้นเด็ดขาด) 13. ประสาทเครียดหรือกังวลใจ: นมสดอุ่น น้ำมันเทียนดำห้าหยด น้ำผึ้ง ชงทานเมื่อมีอาการ 14. โรคปวดตามข้อ: เม็ดเทียนดำป่น, น้ำมันเทียนดำ, น้ำผึ้ง, เอาเม็ดเทียนดำต้มน้ำจนเดือดสักครู่ เทใส่แก้ว หยดน้ำมันเทียนดำใส่ชงด้วยน้ำผึ้งดื่ม 15. กระตุ้นสมอง: น้ำมันเทียนดำ, สะระแหน่, น้ำผึ้ง, ต้มสะระแหน่ หยดน้ำมัน 7 หยด ชงด้วยน้ำผึ้งดื่ม 16 ความจำดี: สะระแหน่ป่นหนึ่งแก้ว, เทียนดำป่นหนึ่งแก้ว, ยีสต์เม็ดแห้งหนึ่งช้อนโต๊ะ, ขิงป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง, ทั้งหมดผสมให้เข้ากันดี บรรจุขวดแก้ว ทานหนึ่งช้อนทุกๆเช้า * ข้อมูลทั้งหมดนำมาจากวารสารของสมาคมนักเรียนไทย ณ.กรุงไคโร ที่มา: http://www.moradokislam.org
ขายแล้ว 235 ชิ้น